วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มารู้จักที่ช้อปปิ้งเกาหลีกันเถอะ

ตลาดเมียงดง (명 동.)


เมียงดง- Myeongdong (명동) สถานที่ช้อปปิ้งยอดฮิตในเกาหลี ใครที่มาเกาหลีต้องมาช้อปปิ้งที่นี่ เพราะเป็นศูนย์รวมของสินค้ายอดฮิตหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เครื่องสำอางค์ มีทุกยี่ห้อยอดฮิตในเกาหลี มีทุกซอยทุกหลืบในเมียงดง , เสื้อผ้าแฟชั่น ทั้งหญิงและชาย (สวรรค์ของสาวๆนักช้อปชาวไทย คือช่วงหน้าร้อนเกาหลี ระหว่างเดือน พ.ค.-ก.ย. ซื้อไปใส่ที่ไทยได้สบายแบบสวยเก๋ไม่เหมือนใคร) เสื้อผ้าที่นี่จะมีทั้งร้านที่เป็นแบรนด์ยอดฮิตในเกาหลี และแบรนด์สุดฮิตจากต่างประเทศ  ,รองเท้า มีทั้งรองเท้าแฟชั่น รองเท้ากีฬา ทั้งมียี่ห้อ และไม่มียี่ห้อ ,ร้านกระเป๋า  ดีไซน์สวยเก่ไม่เหมือนใคร, ร้านขายเครื่องประดับ รวมถึงร้านอาหาร ร้านฟาสฟู๊ด ร้านหมูย่าง และ ร้านกาแฟ สรุปว่าที่นี่มีทุกอย่างที่สาวๆ นักช้อปต้องการ  
ร้านค้าในเมียงดงจะมีทั้งเป็นร้านที่อยู่ในตึก และร้านรถเข็นข้างถนน ทุกร้านในตึกสามารถใช้บัตรเครดิตจ่ายเงินค่าสินค้าได้เลยค่ะ ทุกร้านมีเครื่องรูดบัตร (อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับค่าเงินวันที่เรียกเก็บของธนาคารเจ้าของบัตรที่ไทย) สำหรับร้านที่เป็นรถเข็นส่วนมากจะไม่มีที่รูดบัตรต้องใช้เงินสดจ่าย แต่เวลาซื้อสินค้าเช่นเสื้อผ้าลองดูให้ดีๆก่อนซื้อก็ดีค่ะ เพราะว่าสินค้าบางอย่างซื้อในร้านที่เป็นแบรนด์ที่เรารู้จัก บางอย่างก็ราคาเท่ากัน หรือ ถูกกว่าสินค้าที่ขายในร้านตามรถเข็น หรือร้านธรรมดาในเมียงดง 
เมียงดงเปิดทุกวันไม่มีวันหยุด แต่ช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์คนจะเยอะเป็นพิเศษ เดินไหล(คล้ายๆจตุจักร) ร้านส่วนมากในเมียงดงเปิดประมาณ 10 โมง และปิดประมาณ 4 ทุ่ม 
วิธีเดินทางไปเมียงดง 
นั่งรถไฟใต้ดิน Line 4 สายสีฟ้า ลงสถานี Myeongdong  ออก Exit 5, 6, 7, 8 หรือ
รถไฟใต้ดิน Line 2 สายสีเขียว ลงสถานี Euljiro1(il)-ga ออก Exit 5 


ตลาดนัมแดมุน (남 대 문.)

 ตลาดทงแดมุนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณประตูเมืองโบราณทิศตะวันออก เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของกรุงโซลและยอดฮิตที่สุดที่ตลาดนี้เราสามารถซื้อข้าวของ และต่อราคาได้อย่างสนุกสนานทีเดียว เพราะมีร้านค้ามากมายมีห้างขายเสื้อผ้าที่ทันสมัยในราคาขายส่งและปลีกทงแดมุนเป็นตลาดขายส่งที่ใหญ่มาก พูดไปก็เหมือนประตูน้ำบ้านเรานั้นเอง  ตลาดทงแดมุนกลายมามีชื่อเสียงในเรื่องราคาสินค้าเสื้อผ้า ซึ่งเหมือนเสื้อผ้าในห้างแต่ราคาถูกกว่าและในปัจจุบัน ตั้งอยู่ท่ามกลางบรรยากาศแบบโบราณ บางร้านเปิด 24 ชั่วโมง และมีแสงสีและดนตรีตลอดคืน สินค้าที่มีมากที่สุดในตลาดนี้คือ ผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง ชุดสุภาพสตรีและเด็ก เครื่องนอน เครื่องใช้ในบ้าน รองเท้า กระเป๋า เครื่องประดับ เครื่องสำอางค์ ถุงเท้า ผ้าพันคอ ของที่ระลึก เครื่องกีฬา และอื่น ๆ อีกมากมาย เอาเป็นว่าน่าจะได้ครบทั้งตัวเลยล่ะค่ะ


ขอฝากเกาหลี

สินค้าของที่ระลึก อาทิ ตุ๊กตาชุดประจำชาติฮันบก มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ หลายขนาด แต่ละแบบน่ารักทั้งนั้น หน้ากากไม้ เอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงของเกาหลีคือระบำหน้ากาก ถ้วยน้ำชากระเบื้องเคลือบ ที่รองแก้วที่วาดลวดลายแบบเกาหลี พวกกุญแจรูปแบบรองเท้าคู่เล็กๆ กลองเกาหลีใบเล็กๆตะเกียบเหล็ก ที่คั่นหนังสือ สมุดทำมือหรือแม้แต่โปสการ์ด ปฏิทินรูปดาราของเกาหลี 
ของพวกนี้มีขายอยู่ทั่วไป ที่ตลาดทงแดมุน นัมแดมุน อีเทวอน อินซาดง ถ้าถูกใจก็ซื้อหาเก็บไว้เพราะถ้ามาดูที่ดิวตี้ฟรีสนามบิน ราคาจะแพงกว่ามาก



สาหร่ายบรรจุซอง ขนม ลูกอมต่างๆของเกาหลี ที่เรียกกันว่า “ฮังวา” โดยเฉพาะมีสูตรผสมโสมเข้าไปด้วย และกิมจิ เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานโดยเฉพาะกิมจิผักกาดขาวและกิมจิหัวไชเท้า ที่บรรจุขาด กระป๋องและแพ็คถุงพลาสติก


โสมเกาหลี
โสมเกาหลีได้ชื่อว่าคุณภาพดีที่สุด มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและเป็นยารักษาโรคสารพัดชนิด มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโสมหลายชนิดทั้งยาน้ำ ยาเม็ด ยาผง แคปซูล หรือโสมสด โสมแห้งโสมผง โสมดองเหล้า สามารถหาซื้อได้ตามสินค้าปลอดภาษี ร้านขายยาสมุนไพร หรือแม้แต่ที่ซุปเปอร์มาเก็ตก็มี


เครื่องสำอางเกาหลีเป็นของฝากใจสำหรับทุกผู้ ทุกวัย  ไม่มีใคร ไม่รู้จักเป็นของฝากที่ยอดนิยมที่สุดและก่อให้เกิดปัญหาน้ำหนักเกินมากที่สุด เป็นของฝากที่น่าใช้ที่สุด คุณภาพดี ราคาใช้ได้ มีมากมายหลายรายการ น่าลอง น่าใช้ละลานตาไปหมด  นับตั้งแต่ Base , ครีมลองพื้น ,moisturizer , toner แป้ง ลิปสติก






ประโยคภาษาเกาหลีที่ควรรู้


คำพื้นฐานนะค่ะ

안녕하세요. (อัน-นยองฮาเซโย) = สวัสดีค่ะ
실례합니다. (ชิล-รเยฮัมนีดา) = ขอโทษนะคะ (ใช้เป็นการขอรบกวนค่ะ ประมาณว่า Excuse me.)
죄송합니다. (ชเว-ซงฮัมนีดา) / 미안합니다. (มีอันฮัมนีดา) = ขอโทษค่ะ (ใช้ขอโทษเมื่อทำผิด เป็นระดับสุภาพและระดับธรรมดาค่ะ)
감사합니다. (คัมซาฮัมนีดา) = ขอบคุณค่ะ
괜찮습니다. (แควนชันซึมนีดา) = ไม่เป็นไรค่ะ
아니요. (อานีโย) = ไม่ค่ะ
네. (เน) = ค่ะ,ใช่ค่ะ (ไว้ขานรับ)
제가 태국인입니다. (เชกา แทกุกิน อิมนีดา) = ฉันเป็นคนไทยค่ะ

การซื้อของค่ะ

คำนาม + 있나요? (…อิซนาโย๊) = มี + คำนาม + ไหมคะ?

ใช้ในกรณีที่คุณเดินเข้าไปในร้านค้าแห่งหนึ่ง ซึ่งมีสินค้ามากมายไปหมด ถ้าหากคนขายทักทายเราก็ให้ส่งยิ้มแล้วถามกลับเลยค่ะ ไม่ว่าเขาจะทักมาว่ายังไง(ซึ่งบางทีเราอาจฟังไม่รู้เรื่อง) ประมาณว่า ขอโทษนะคะ มีเจ้านี่ไหมคะ? ไม่รู้ว่าแม่ค้าเกาหลีคนนั้นจะใจดีหรือเปล่า เพราะฉะนั้นถามแล้วก็ควรซื้อนะคะ
คำตอบที่ได้ก็จะเป็น
 있어요. (อิซซอโย) มีค่ะ หรือ 아니오. (อานีโอ) ไม่มีค่ะ
얼마예요? (ออลมาเยโย๊?) = เท่าไหร่คะ?


พอได้พบกับสิ่งที่ต้องการแล้วเห็นว่ามันถูกใจก็ถามราคาเลยค่ะ สินค้าแต่ละอย่างนั้นบางอย่างก็จะมีราคาติดอยู่บนสินค้า เป็นป้ายแปะอยู่ที่ชั้นวาง หรืออาจจะมีราคากำกับไว้ตรงไหนสักที่ แต่หากเราสนทนากับคนขายอยู่สามารถถามเขาได้เลยค่ะไม่ต้องมัวหาป้าย
เลขราคา(วอน) + 원이에요. (…วอนีเอโย) = เลขราคา(วอน) + วอนค่ะ
คำตอบที่ได้จากแม่ค้าก็คือราคาของสิ่งนั้นๆ นั่นเองค่ะ สกุลเงินของเกาหลีคือเงินวอน (원) โดยจะบอกจำนวนหรือตัวเลขราคามาก่อนตามด้วยคำว่าวอน ดังนั้นควรแม่นตัวเลขไว้ก็ดีนะคะ
คำนาม + 주세요. (…จูเซโย) = ขอ + คำนาม + ค่ะ


ดูสินค้าหลากหลายอย่างแล้ว ถูกใจก็เยอะแยะ แต่ที่จะซื้อน่ะมีแค่อย่างเดียวนี่ ให้ประโยคนี้ในการเจาะจงไปยังของที่จะเอาค่ะ เช่น ดูทั้งเสื้อ กระโปรง หมวก ผ้าพันคอ ถุงเท้า กางเกง แต่จะเอาแค่เสื้อ ก็บอกไปเลยว่างั้นขอเสื้อค่ะ หมายความว่าจะเอาแค่เสื้อนั่นเอง (ควรระบุด้วยนะคะว่าจะเอาเสื้อน่ะเสื้อไหน)




การเดินทาง

สถานที่ + 이어디에있어요? (…อี ออดีเอ อิซซอโย๊) = สถานที่ + อยู่ที่ไหนคะ?
ควรถามบุคคลที่ให้บริการด้านนี้จะให้คำตอบได้ดีที่สุดค่ะ เช่น หากจะไปด้วยรถไฟฟ้าก็ถามพนักงานรถไฟฟ้าที่ให้บริการตั๋วหรือคอยเดินตรวจแถวๆ นั้นได้ว่าที่นี่อยู่ที่ไหน หากไม่มั่นใจก็ถามต่อค่ะ
สถานที่ +이 여기에서멉니까? (…อี ยอกีเอซอ มอบนีก๊ะ) = สถานที่ + อยู่ไกลจากที่นี่ไหมคะ?
ทราบแล้วว่าอยู่ที่ไหน แล้วคำถามต่อไปก็คือ ที่นั่นน่ะอยู่ใกล้ไกลจากที่นี่แค่ไหน ซึ่งถ้าไม่ไกลมากก็เดินไปได้เลยค่ะ การเดินเท้าของชาวเกาหลีเป็นเรื่องปกติเพราะเกาหลีไม่ได้ร้อนแดดเปรี้ยงอะไรและมีต้นไม้ร่มรื่นข้างทางด้วย หากเป็นวันที่มีเมฆจะบรรยากาศดีมากเลยนะคะ
สถานที่ + 에는어떻게가요? (…เอนึน ออต็อกเค คาโย๊) = ไป + สถานที่ + ยังไงคะ?

만나서 반갑습니다. (มันนาซอ พันกับซึมนีดา) = ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
영어를 할수 있어요? (ยองออรึล ฮัลซู อิซซอโย๊?) = พูดภาษาอังกฤษได้ไหมคะ?
ในกรณีที่คู่สนทนาพูดภาษาอังกฤษได้ก็จะตอบว่า할수 있어요. (ฮัลซู อิซซอโย) แปลว่า พูดได้ค่ะ แต่ในกรณีที่พูดไม่ได้ ก็จะตอบว่า 못해요. (มทแทโย) ที่แปลว่า ไม่ได้ค่ะ แล้วก็ต้องงมภาษาเกาหลีต่อไป~


คำศัพท์เพิ่มเติม


이거  (อีกอ) = นี่,อันนี้
저것 (ชอ-กอซ) = นั่น,อันนั้น
너무  (นอมู) = มาก,เกินไป
비싸요. (พีซาโย) = แพง
커요 (คอโย) = ใหญ่
작아요 (ชากาโย) = เล็ก
누구요? (นูกูโย๊) = ใครคะ?

왜요? (เวโย๊) = ทำไมคะ?
알았어요? (อารัซซอโย๊) = เข้าใจไหมคะ?
알았어요. (อารัซซอโย) = เข้าใจค่ะ
사진좀 찍어 주세요? (ซาจิน จม ชิกอ จูเซโย๊?) = ช่วยถ่ายรูปให้หน่อยได้ไหมคะ?
날씨가 시원해요. (นัลชีกะ ชีวอนแฮโย) = อากาศหนาว
날씨가 더워요. (นัลชีกะ ทอวอโย) = อากาศร้อน
쓰레기를 버리지마세요. (ซึเรกีรึล พอรีจิมาเซโย) = อย่าทิ้งขยะ
천천히 하세요. (ช่อนชอนฮี ฮาเซโย) = พูดช้าๆ หน่อยค่ะ
한복을 입고싶습니다. (ฮันบกกึล อิบโกชิพซึมนีดา) = อยากใส่ชุดฮันบกค่ะ
또 만나요. (โต มันนาโย) = แล้วพบกันใหม่



วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

อาหารที่ไปเกาหลีแล้วไม่ควรพลาด




1. กิมจิ (Kimji)

     ไม่ว่าใครที่พูดถึงเกาหลีก็ต้องนึกถึงกิมจิใช่มั้ยค่ะ กิมจิเป็นผักดองเค็ม กิมจิเป็นอาหารเกาหลีประเภทผักดองที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี ด้วยการหมักพริกสีแดงและผักต่างๆ โดยทั่วไปจะเป็นผักกาดขาว ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซาและเบอร์เกอร์ ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน แม้ปัจจุบันมีบริษัทอาหารผลิตกิมจิสำเร็จรูปหรือแบบสดขายตามห้างสรรพสินค้าก็ตาม แต่ชาวเกาหลีก็ยังนิยมทำกิมจิกินเองที่บ้าน



2. ฮันจองซิก (hanjeongsik) 

ฮันจองซิก (hanjeongsik) 한정식 หรืออาหารชุดเกาหลี เป็นมื้อเต็มโต๊ะที่จัดอาหารมาเป็นชุด จุดกำเนิดอยู่ที่ในวัง หรือบ้านของขุนนางผู้มีอันจะกิน ปกติจะเริ่มต้น เสิร์ฟ์จานเรียกน้ำย่อยเป็นของเย็น ตามด้วยพวกข้าวต้มหรือโจ๊ก ต่อด้วยอาหารจานหลักซึ่งมีทั้งของต้ม ของทอด ของย่าง ของนึ่งหรือของหมัก รวมถึงหม้อไฟ และปิดท้ายด้วยเครื่องดื่มของหวานพื้นเมือง



3. คาลบี้ ( Kalbi ) 

อาหารเกาหลี หมูปรุงรสย่าง คาลบี้ ( Kalbi ) 갈비 อาหารเกาหลีแบบปิ้งย่างที่มีชื่อเสียงของเกาหลี เป็นการนำเนื้อวัวหรือเนื้อหมูมาหมักกับเครื่องปรุงจนเนื้อนุ่ม แล้วจึงนำไปย่างบนแผ่นโลหะที่ถูกเผาจนร้อน ตอนย่างเนื้อนั้นจะย่างเป็นชิ้นโตพอสมควร พอใกล้สุกแล้วก็ต้องใช้กรรไกรตัดเป็นชิ้นพอดีคำ ทานกับเครื่องเคียงจำพวกผัก กระเทียมได้



4. บิบิมบับ ( Bibimbap )

 ข้าวยำผสมผักสูตรเกาหลีเป็นข้าวสูตรดั่งเดิมของเกาหลี ซึ่งนำเอาข้าวสวย ผักต่าง ๆ เช่น ถั่วงอก ผักกาด เห็ดหอม สาหร่าย และซอสสีแดง มาผัดรวมกัน ซึ่งก็จะได้รสชาตแบบเกาหลีจริง ๆ ทานพร้อมกับน้ำซุป กิมจิ ถั่วงอกดอง หรือเต้าหู้ทรงเครื่อง




5. เน็งเมียน ( Naengmyeon )

บะหมี่เย็น จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก คือ บิบิม เนงเมียน คือ การทานแบบไม่ใส่น้ำซุป คล้ายเส้นหมี่แห้ง ที่ใส่ซอสแดงลงไป แล้วคลุกให้เข้ากันและใส่แครื่องต่างๆ รับประทาน และมุลเนงเนียน คือ บะหมี่เย็นแบบน้ำ ที่นำเส้นบะหมี่ที่ต้มสุก มาใส่น้ำซุป ใส่เครื่องต่างๆ และใส่น้ำแข็ง เป็นการทานบะหมี่และน้ำซุปเย็นที่ทำให้ รู้สึกเย็นสดชื่น



6.  ต๊อกโบกี ( Tukbokk )

ต๊อกโบกี (Tukbokki) ทำมาจากแป้งและนำมาผัดพร้อมราดด้วยซอส ซึ่งคำว่าต๊อก(떡)แปลว่า แป้งที่ทำจากข้าว ส่วนคำว่าโบกี(볶이)แปลว่า นำมาผัด ต๊อกโบกีเป็นอาหารว่างที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านหรือรถเข็นริมทาง แต่เดิมเรียกว่าต๊อกจิมและยังสามารถนำมาใส่ในเค้กข้าว (rice cake) ได้ กลายเป็นต๊อกกุก(ซุปเค้กข้าว) ซึ่งจะนิยมรับประทานในวันขึ้นปีใหม่ด้วย 



วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

การแต่งกายของสตรีในราชสำนักเกาหลีใต้


                การปกครองในระบอบราชาธิปไตย  หรือการปกครองที่มีพระราชาเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการปกครองนี้  จะมีการแบ่งออกเป็นฝ่ายหน้าและฝ่ายใน  ซึ่งฝ่ายหน้าก็ได้แก่  เหล่าข้าราชบริพาร  และขุนนางน้อยใหญ่ทั้งปวง  ฝ่ายในก็ได้แก่  เหล่าสตรีสูงศักดิ์ในวังหลวง  และบรรดานางกำนัลทั้งปวง  บางประเทศก็มีขันทีด้วย                ในราชสำนักฝ่ายในของราชวงศ์โชซอน  แบ่งเป็น 3 ชนชั้น คือ เชื้อพระวงศ์ องค์หญิงและองค์ชายที่ยังไม่ได้เสกสมรส (ไม่นับว่าเป็นผู้หญิงนะครับ) และนางวัง (ขอเรียกนางกำนัลว่านางวังนะค่ะ)

               เชื้อพระวงศ์ โดยรวมเราจะหมายถึง พระพันปี พระมเหสี และพระสนม แต่บางรัชสมัยก็อาจจะมีพระหมื่นปี(พระอัยยิกาเจ้าในพระราชา) หรือพระพี่นางพระน้องนางด้วย
     
               พระมเหสี หรือ วังบี คือพระภรรยาเจ้าที่มีศักดิ์สูงที่สุดในฝ่ายใน มีสิทธิขาดในการบังคับบัญชาพระสนม นางกำนัล หรือการดูแลความเป็นไปขององค์ชาย (ที่ยังมิได้เสกสมรส) องค์หญิง หากยังมีพระชนม์ชีพอยู่จะขานพระนามว่า วังฮู” เรียกอย่างลำลองว่า มามา” (ไม่ใช่มาม่านะ ^^ คำว่ามามาเนี่ยคนเกาหลีจะใช้กับคนที่เป็นเจ้านายหรือผู้มีตำแหน่งยศศักดิ์ ประมาณนายหญิง แต่ก็ใช้กับเจ้านายที่เป็นชายด้วยนะค่ะ ที่เห็นๆก็ในแดจังกึมนี่แหละ ที่เรียกนายหญิงๆๆๆ” ไรงี้) หรือ ชุงจอน” หรือ ชุงกุงจอน” ทั้งสองคำ แปลว่า ตำหนักกลาง ซึ่งหมายถึงตำหนักคโยแทจอน ตำหนักของพระมเหสี คู่กับตำหนักแทจอน หรือตำหนักใหญ่ของพระราชา (คำว่าชุงจอนเนี่ย ใครดูหนังเกาหลีก็จะคุ้นๆ ไม่ใช่ชื่ออะไรหรอก คือแค่เรียกอ้อมๆน่ะ เหมือนคนไทยสมัยโบราณที่เวลากล่าวถึงพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย ก็จะไม่มีใครเอ่ยพระนามจริงกัน เพียงแต่กล่าวอ้อมๆ เหมือนเวลาเอ่ยถึง สมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันก็จะเรียกว่าทูลกระหม่อมแดง หรือเอ่ยถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ อัครราชกุมารี ก็จะเอ่ยว่า ทูลกระหม่อมเล็ก) เมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้ว จึงจะได้รับการสถาปนาพระนามย้อนหลัง เช่น อดีตพระมเหสียุนโซวา ในพระเจ้าซองจง ถูกปลดจากตำแหน่ง และได้รับพระราชทานยาพิษ หลังจากที่พระเจ้าซองจงสิ้นพระชนม์ องค์ชายยอนซันที่เป็นพระโอรสของพระนางขึ้นครองราชย์ต่อ ก็ได้สถาปนาให้กลับเข้าสู่ตำแหน่งพระมเหสี ขนานพระนามพระนางว่า สมเด็จพระราชินียุนแจฮยอนแห่งฮามาน

พระมเหสีกับพระพันปี
พระพันปี หรือ วังแดบี คือ พระราชมารดาในพระราชาหรือพระมเหสีในรัชกาลก่อน พระพันปีนี้มิจำเป็นต้องมีพระโอรสเป็นพระราชา เมื่อเปลี่ยนรัชกาล สถานภาพก็เปลี่ยนเป็นพระพันปีทันที เช่น สมัยองค์ชายยอนซัน ซึ่งเป็นพระโอรสในพระมเหสีแจฮยอนที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว สมัยนี้ก็จะมี สมเด็จพระมเหสียุนจองฮยอนแห่งพาพยอง” เป็นพระพันปี ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระราชชนนีจาซุนแห่งพาพยอง” ขนานพระนามกันในวังว่า องค์พระพันปีน้อย” ตำแหน่งพระพันปี หากยังมีพระชนม์ชีพอยู่ขนานพระนามอย่างลำลองว่า วังแทฮู” หรือ แทฮู” หรือ มามา

พระหมื่นปี หรือ แดวังแดบี คือพระอัยยิกาของพระราชา หรืออาจจะเป็นพระมเหสีในพระราชาในรัชกาลก่อนหน้า 2 รัชกาล หากยังมีพระชนม์ชีพอยู่ขนานพระนามอย่างลำลองว่า แทวังแทฮู” หรือ มามา” เช่น พระมเหสีคิม ในพระเจ้ายองโจ (พระอัยกาในพระเจ้าจองโจ หรือ ลีซาน) ไดรับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีคิมจองซุนแห่งอันดง” ดำรงพระชนม์ชีพจนถึงรัชสมัยของพระเจ้าซุนโจ พระโอรสของพระเจ้าจองโจ ได้รับการสถาปนาเป็นพระปัยยิกา หรือ พระแสนปี เป็นพระมเหสีที่มีสถานะทางการเมืองเด่นเป็นอันดับต้นๆ ของราชวงศ์โชซอน

พระสนมต่างๆ

พระสนม คือ พระภรรยาของพระราชา แบ่งเป็น 8 ระดับ ได้แก่
      1. พระสนมขั้นหนึ่ง ชั้นพระสนมบิน (,) ชอง 1 พุม (เป็นการเรียงลำดับของระบบข้าราชการของโชซอน เท่ากับ ระดับ 1) มีพระนามแตกต่างกันออกไป เช่น ฮีบิน คยองบิน ซุกบิน ชางบิน มยองบิน อันบิน เป็นต้น เช่นพระสนมคยองบิน ตระกูลปาร์ค ในพระเจ้าจุงจง
     2. พระสนมขั้นสอง ชั้นพระสนมควีอิน (귀인貴人 ) ชง 1 พุม เช่น พระสนมขั้นสองควีอิน ตระกูลปาร์ค ในพระเจ้าเซจงมหาราช
     3. พระสนมขั้นสาม ชั้นพระสนมโซอึย (소의昭儀 ) ชอง 2 พุม เช่น พระสนมขั้นสามโซอึย ตระกูลยู ในพระเจ้าซุกจง  
     4. พระสนมขั้นสี่ ชั้นพระสนมซุกอึย (숙의,) ชง 2 พุม เช่น พระสนมขั้นสี่ซุกอึย ตระกูลคิม ในพระเจ้าทันจง
     5. พระสนมขั้นห้า ชั้นพระสนมโซยง (소용,) ชอง 3 พุม เช่น พระสนมขั้นห้าโซยง ตระกูลฮง ในพระเจ้าเซจงมหาราช 
     6. พระสนมขั้นหก ชั้นพระสนมซุกยง (숙용,淑容) ชง 3 พุม เช่น พระสนมขั้นหกซุกยง ตระกูลควอน ในพระเจ้าซองจง
     7. พระสนมขั้นเจ็ด ชั้นพระสนมโซวอน (소원,) ชอง 4 พุม เช่น พระสนมขั้นเจ็ดโซวอน ตระกูลซิน ในองค์ชายควางแฮ 
     8. พระสนมขั้นแปด ชั้นพระสนมซุกวอน (숙원,淑媛) ชง 4 พุม เช่น พระสนมขั้นแปดซุกวอน ตระกูลลี ในพระเจ้าเซจงมหาราช
          พระสนมทั้งหมด เรียกอย่างลำลองว่า มามา”  บางพระองค์ที่พระโอรสได้ขึ้นครองราชย์ ก็จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น บูแดบิน”( 부대빈,府大嬪) เช่น พระสนมในพระเจ้าซุกจงที่เราดูกันอยู่ในเรื่อง ทงอี จอมนางคู่บัลลังก์ ได้รับการสถาปนาเป็น พระสนมเอกฮีบิน บูแดบิน ตระกูลจาง แห่งอกซาน” ส่วนทงอีนางเอกของเรา แม้ว่าจะมาทีหลัง ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระสนมเอกซุกบิน ตระกูลชเว แห่งแฮจู” ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสที่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชา
          องค์หญิง มีสองฐานันดรศักดิ์ แบ่งเป็น กงจู (公主) คือ องค์หญิงที่ประสูติจากพระมเหสี และ องจู (翁主) คือองค์หญิงที่ประสูติจากพระสนม ส่วนองค์ชายก็มีสองฐานันดรศักดิ์เช่นกัน คือ แทกุน () หรือ องค์ชายที่ประสูติจากพระมเหสี และ กุน () หรือ องค์ชายที่ประสูติจากพระสนม

นางกำนัล หรือนางวัง



นางวัง หรือ กุงอิน หรือ กุงนยอ หรือชื่อเต็มๆ ก็คือ กุงจุงนยอกวาน(宫中女官) (แปลว่า สตรีในวังที่มีตำแหน่งหรือฐานันดร) เพราะสตรีทั้งหลายในวังนั้นแม้จะมีทั้งนางวัง แพทย์หญิง นางรำ นางทรง แต่มีเพียงนางวังเท่านั้น ที่มีสิทธิถือครองบรรดาศักดิ์  แบ่งเป็นนางวังทั่วไป ซังกุง และซึงอึนซังกุง ทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า แนเมียงบู หรือ ราชสำนักฝ่ายใน นางวังเหล่านี้ บางคนมีอำนาจถึงขนาดสามารถบงการการเมืองได้เลยทีเดียว
นางในทั่วไป จะเริ่มจากการเข้าวังมาตั้งแต่เด็กๆ โดยผ่านการสอบเป็นเซ็งกักชิ หรือ นางกำนัลเด็ก และสอบต่อมาประจำปีเรื่อยมา จนอายุประมาณสิบห้าปี  ก็จะมีการสอบอีกครั้ง  เรียกการสอบนี้ว่า  ออชอนเคียงยอน  โดยผู้ที่สอบตกก็จะต้องถูกขับออกจากวัง  โดยคนที่สอบผ่านก็จะได้เข้าพิธีนาอินฉิก  เพื่อถวายสัตย์เป็นนางวัง  ถือว่าเป็นนางวังเต็มตัวแล้ว  นางวังถือเป็นสตรีสูงศักดิ์  ที่บุคคลอื่นที่ไม่มียศตำแหน่งเทียบเท่า  จะบังอาจล่วงเกินมิได้
เมื่ออายุประมาณ  30  ปีก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซังกุง โดยนางวังจะประกอบไปด้วย  ซังกุง  ซังอี  ซังบก  ซังฉิก  ซังชิม  ซังกง  ซังจอง  ซังกี  ซึ่งเป็นหน่วยงานในแนเมียงบู  ซังกุง จะถือตำแหน่ง  ชอง  5  พุม  หรือ ระดับ  9
  แนเมียงบูควบคุมดูแลโดยพระมเหสี  และมีหัวหน้านางวังคือ  เชโจซังกุง  หรือ  ซังกุงปกครอง  ทำหน้าที่ปกครองนางวังทั้งหมดในสังกัด  และจะมีฝ่ายต่างๆ อีก  เช่น  ฝ่ายโซจูบัง  (ห้องเครื่อง)  ฝ่ายจาซูดัง  (ห้องเย็บปัก)  เป็นต้น โดยหัวหน้าของแต่ละฝ่ายเรียกว่า  ซังกุงสูงสุด
ซังกุงเหล่านี้ยังมีแบ่งย่อยอีก  เป็นซังกุงธรรมดา  และซังกุงชั้นสูง  สังเกตจากแคดูและชุดที่สวมใส่  แคดูคือเครื่องประดับศีรษะสำหรับนางวัง ทำด้วยผ้าแพร  บ่งบอกสถานะ มักมีสีต่างกัน  ในสมัยนั้น  หากใครมีผมสูงที่สวมจากวิก (คาเช) ก็จะมียศสูงเท่านั้น  หากเป็นสตรีธรรมดา  มิได้อยู่ในวัง  ก็จะไม่ใส่แคดู 
ซังกุงชั้นธรรมดา  จะสวมใส่ชุดสีเขียวอ่อน  ได้แก่  ซังกุงที่ประจำอยู่ซูรากัน  หรือห้องเครื่องใหญ่ซังกุงน้อยใหญ่ต่างๆซังกุงลิ้มรส (คีมีซังกุง)ซังกุงที่ทำงานอยู่ฝ่ายต่างๆซังกุงที่ประจำอยู่ตำหนักต่างๆ,  รวมทั้งซังกุงคนสนิทของเชื้อพระวงศ์ด้วย แต่ยกเว้นซังกุงคนสนิทของพระพันปี (แทฮวางฮุ) ซังกุงเหล่านี้จะไม่สวมแคดู  ยามทำงานก็จะสวมใส่เสื้อกันเปื้อนสีขาวเช่นเดียวกับนางวัง
ซังกุงชั้นสูง จะสวมใส่ชุดสีเขียวเข้ม สวมแคดู  ความสูงของวิกแล้วแต่ยศ ได้แก่  ซังกุงปกครอง,  ซังกุงสูงสุด, ซังกุงพี่เลี้ยง,ซังกุงหัวหน้าในแผนกต่างๆ ของฝ่ายห้องเครื่องและฝ่ายห้องเย็บปัก
ชุดของนางวัง  จะใส่ชุดสีม่วง (ในซีรีส์ดูเหมือนว่านางวังห้องเครื่องจะใส่สีแดง นางวังห้องเย็บปักสวมสีแดง ที่จริงสวมสีม่วงเหมือนกัน เพียงแต่แตกต่างตามความเข้มของสีเท่านั้น)ก่อนที่จะเข้าพิธีนาอินฉิก  จะต้องสวมใส่สีเขียวเข้ม  เซ็งกักชิจะสวมเสื้อสีชมพู  เปียถูกปล่อยยาว  ต่างจากนางวังที่โตขึ้นมาหน่อย  จะรวบเปียไว้  โดยผูกด้วยโบว์สีแดง เวลามีงานพระราชพิธี  หรือพวกนางวังอยู่เวรตามตำหนักต่างๆ  ก็จะมีชุดฮวารยอ  (เสื้อที่มีชายยาว  ไว้สำหรับสอดมือด้านใต้) เวลาทำงาน  จะมีเสื้อกันเปื้อนสีขาวสวมใส่


สำหรับซังกุง  จะมีชุดสำหรับพระราชพิธี  คือ ชุดวอนซัม ซึ่งผ่าจนถึงรักแร้ ซึ่งจะต้องสวมเครื่องประดับศีรษะอันใหญ่โต ในเวลาต่อมา เมื่อมีการยกเลิกการสวมวิกผมเพื่อบอกตำแหน่งก็มีการนำผมมารวบไว้ด้านหลังเฉยๆมีเพียงเครื่องประดับและชุดเท่านั้นที่สามารถบอกยศของผู้สวมได้
ความแตกต่างของชุดฮวารยอกับชุดทังอีก็คือ ชุดฮวารยอเป็นชุดของนางวัง ไม่มีลวดลายสวยงาม แต่ชุดทังอี คือ ชุดของเชื้อพระวงศ์ มีลวดลายตามศักดิ์ของผู้สวมใส่
นางวังที่ได้รับการถวายตัว จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซึงอึนซังกุง และหากตั้งครรภ์หรือโปรดปรานเป็นพิเศษ ก็จะได้รับการแต่ตั้งให้เป็นพระสนม ซึงอึนซังกุงนี้ มีศักดิ์สูงกว่าซังกุงปกครองที่ดูแลฝ่ายในเสียอีก
เมื่อแรกเริ่มที่เข้ารับพิธีนาอินฉิก นอกจากที่จะมีพระมเหสีเป็นองค์ประธานแล้ว นางวังจะต้องปฏิญาณต่อเชโจซังกุง หรือซังกุงปกครองด้วยว่า ไม่ว่าจะทำผิดด้วยประการใด จะต้องสำเร็จโทษกันเองภายใน อย่าได้แพร่งพรายออกไปให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อแนเมียงบู (ฝ่ายใน) แม้แต่พระมเหสีที่เป็นผู้ดูแลฝ่ายในก็ต้องปิดบัง เพราะการทำผิดของนางในถือว่าเป็นความผิดของซังกุงผู้ดูแลรับผิดชอบ จึงอาจจะถูกล้มล้างอำนาจยกแผงก็เป็นได้
นางวัง ถือคติหนึ่งที่ว่า นางวังคือสตรีของพระราชา” ซึ่งไม่ว่าใครก็ไม่สามารถเกี้ยวพาหรือฉุดคร่าไปเป็นภรรยาได้ แม้แต่พระสนมหรือพระมเหสีที่มีสถานะถูกปลดหรือเมื่อเปลี่ยนรัชกาล สตรีของพระราชา” ทั้งหมดนี้ หากมีอันที่จะต้องออกไปอยู่นอกวัง จะต้องรักษาความบริสุทธิ์ไว้ยิ่งชีพ นางวังที่ถูกปลด แม้จะถูกปลดก็ไม่สามารถมีสามีได้ มีทางเลือกเพียงสองทาง คือ ออกบวช หรือฆ่าตัวตายเท่านั้น มิเช่นนั้นก็ต้องหนีออกไปให้ไกลเท่าไหร่ได้ยิ่งดี เพราะอาจถูกสำเร็จโทษตามบัญญัติฝ่ายในได้ ส่วนพระมเหสีหรือพระสนมที่ถูกปลด มีเพียงทางเลือกเดียวคือ การออกบวช (แต่ที่เห็นๆคือเพียงนุ่งขาวด้วยผ้าป่านเนื้อหยาบ) ภายใต้การกักบริเวณไว้ในที่พัก ส่วนการเปลี่ยนรัชกาล พระมเหสีมีสถานภาพที่ดีกว่า คือได้เป็นพระพันปี อาศัยอยู่ในวัง ไม่ว่ารัชกาลจะเป็นโอรสพระนางหรือไม่ ต่างกับพระสนมที่ต้องออกไปอยู่นอกวังและออกบวชเพียงสถานเดียว
หากฝ่ายในทำผิด จะมีการสำเร็จโทษ 3 ประการให้เลือก คือ เมื่อพระราชโองการมาพร้อมกับถาดเครื่องสำเร็จโทษ หลังจากที่อ่านโองการสำเร็จโทษ นักโทษจะต้องเลือกเอาว่าจะตายเช่นไร ในถาดจะมียาพิษ ผ้า (ใช้ผูกคอตาย) และมีดสั้น แต่ส่วนมากก็จะมีเพียงการประทานยาพิษ  แต่มีเหตุการณ์หนึ่ง คือ การปลดและถวายยาพิษต่อพระมเหสีแจฮยอนในพระเจ้าซองจง ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดผลตามมาอย่างใหญ่หลวง คือ เมื่อพระโอรสของพระนางขึ้นครองราชย์สืบต่อ ก็ได้มีการสังหารผู้เกี่ยวข้องกับการตายของพระมารดา เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า การสังหารหมู่ปราชญ์ปีมูโอ  ที่นำไปสู่กลียุคและการล้มล้างองค์ชายยอนซันโอรสของพระนาง ใครเคยดูก็จะรู้ว่าเหตุการณ์นี้ก็คือเหตุการณ์ที่ยุนโซวาฝากผ้าเปื้อนเลือดไปให้วอนจานั่นแหละ
และการผูกคอก็มีในประวัติศาสตร์เป็นที่โด่งดังอีก ก็คือการแขวนคอนางออลูตง ที่จริงนางออลูตงเนี่ย ไม่ได้เกิดสมัยเดียวกับพระเจ้าซองจง ยุนโซวาหรือคิมชูซอนหรอกครับ แต่คนเขียนบทเขาเอาไปใส่รวมไว้ให้มันเศร้าๆ เท่านั้นเอง ออลูตงในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าเซจง ก่อนหน้าพระเจ้าซองจงหลายรัชกาลหยุคับ ออลูตงเป็นภรรยาของเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง แล้วแอบไปมีความสัมพันธ์กับพระโอรสของพระเจ้าเซจง จนเรื่องแดงออกมา จึงมีการนำนางไปสำเร็จโทษด้วยการแขวนคอประจาน คนเกาหลีถือว่าเป็นความอัปยศที่สุดที่มีสตรีต่ำทรามถึงขั้นคบชู้สู่ชาย แม้กระทั่งในประวัติศาสตร์ก็ไม่ต้องการเอ่ยชื่อ เพียงกล่าวชื่อนางว่า ออลูตง” ซึ่งแปลว่า ความอัปยศ